การแก้ปัญหายาเสพติด

นายเพิ่มพงษ์กล่าวว่า สำนักงาน ป.ป.ส.ในฐานะเป็นหน่วยยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศ มีบทบาทในการให้ข้อเสนอการแก้ไขปัญหายาเสพติด และรายงานข้อมูลการข่าวยาเสพติดให้กับทุกรัฐบาล รวมถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อกำหนดนโยบายในระดับชาติ ซึ่งเป็นบทบาทที่สำนักงาน ป.ป.ส.ได้ปฏิบัติมาโดยตลอด และตามที่ คสช.มีคำสั่ง ที่ 41/2557 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2557 ซึ่งเป็นคำสั่งที่มีเจตนารมณ์ในการมุ่งแก้ไขปัญหายาเสพติด และได้รับการขานรับจากสังคมอย่างมากมายที่หวังให้ปัญหายาเสพติดลดลงและหมดไปได้อย่างยั่งยืน ในส่วนของสำนักงาน ป.ป.ส.จึงได้กำหนดมาตรการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด 5 มาตรการ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติการในระยะสั้น โดยหวังผลภายใน 3 เดือน เพื่อนำเสนอต่อ คสช. คือ
1.มาตรการควบคุมแนวชายแดน เป็นการปฏิบัติการควบคุมตามแนวชายแดน การสกัดกั้นยาเสพติด การตั้งด่านตรวจด่านสกัด การสืบค้นตรวจจับและทำลายเครือข่ายการค้าตามแนวชายแดน
2.มาตรการควบคุมเจ้าหน้าที่รัฐมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เป็นการควบคุมปัจจัยการสนับสนุน คุ้มครองให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น โดยให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งชี้แจง เน้นย้ำ และควบคุมมิให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดเข้าไปเกี่ยวข้องโดยเด็ดขาด หากพบจะดำเนินการสั่งให้ออกโดยทันที ก่อนตั้งกรรมการสอบสวนตามขั้นตอน
3.มาตรการควบคุมการค้าฯ ในเรือนจำ เป็นการตัดวงจรการค้ารายสำคัญจากเรือนจำสู่ภายนอก โดยนำผู้ต้องขังรายสำคัญมาก ที่มีพฤติการณ์ค้ายาเสพติดจากเรือนจำทั่วประเทศ 400 คน เข้าควบคุมในแดน 6 เรือนจำความมั่นคงสูงเขาบิน จ.ราชบุรี เพื่อควบคุมและตัดวงจรการค้าในเรือนจำ และเสริมประสิทธิภาพการคุมขังให้เข้มงวดสูงสุด
 4.มาตรการควบคุมพื้นที่การค้าฯ รุนแรง เป็นการควบคุมและตัดวงจรการค้า โดยจัดให้มีการบูรณาการร่วมกันดำเนินการสืบสวน ปราบปราม โดยการปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม ขยายผล และยึดอายัดทรัพย์ในทุกคดี รวมทั้งลดความเดือดร้อนของประชาชนด้วยการดำเนินการต่อข้อร้องเรียน ทั้งนี้ทุกจังหวัดต้องลดความรุนแรงของปัญหาให้ได้โดยเร็ว และให้มีการบังคับโทษสูงที่สุด สำหรับนักโทษรายสำคัญมาก ที่ยังคงมีพฤติการณ์ค้าฯ ในเรือนจำอยู่

5.มาตรการควบคุมพื้นที่เสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง เป็นการปฏิบัติการให้ทุกจังหวัดมีกองกำลังทั้งหน่วยพลเรือน ตำรวจ และทหาร รับผิดชอบปฏิบัติการเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงในพื้นที่ และดำเนินการด้านข้อมูลการข่าว เร่งดำเนินการลดจำนวนผู้เสพด้วยการบำบัดฯ โดยยึดหลักคุณภาพ สร้างภูมิคุ้มกันทั้งในและนอกสถานศึกษา รวมถึงในชุมชนและครอบครัว เพื่อควบคุมป้องกันมิให้มีผู้เสพรายใหม่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังจัดให้มีศูนย์ควบคุมและสอบถามบุคคลด้านยาเสพติด (ศคส.) เพื่อหาข่าวข้อมูล ปรับพฤติกรรม และเฝ้าติดตามพฤติกรรมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

การสังเกตผู้ติดสารเสพติด

เนื่องจากยาเสพติดทั้งหลาย เมื่อเกิดการเสพติดจะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพ ซึ่งทำให้ลักษณะ และความประพฤติของผู้เสพยาเสพติดเปลี่ยนไปจากเดิม

การสังเกตสมาชิกในครอบครัว

หากสงสัยว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติดหรือไม่ อาจสังเกตได้จากการใช้เงินสิ้นเปลือง
โดยเด็กจะใช้เงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายในไม่เกิน 1 ปี ซึ่งผู้ปกครองสามารถตรวจสอบ หรือควบคุมการใช้เงินของเด็กได้

อุปกรณ์การเสพ


              1.อาจพบบุหรี่ที่มีรอยยับ และมักจะเก็บไว้ต่างหาก หรือพบกระดาษฟรอยด์ ไฟแช็ค และหลอด
              2.มีนิสัยโกหก
3.เด็กจะเริ่มโกหกจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น เสพยาในห้องน้ำนานแต่โกหกว่าท้องผูก เป็นต้น จนกระทั่งเรื่องที่โกหกจะมีความสำคัญมากขึ้น เช่น โกหกว่าเครื่องประดับหาย หรือ โรงเรียนบังคับให้ซื้อเครื่องมือที่ราคาแพงๆ เป็นต้น
              4.มีนิสัยลักขโมย
           5.มีนิสัยเกียจคร้าน และไม่รับผิดชอบหลังจากที่เสพยาเสพติดแล้ว ผู้เสพจะมีอาการเมายา ทำให้ลดความตั้งใจ และลดพฤติกรรมต่างๆ ลง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
                6.ร่างกายไม่แข็งแรง ผอมแห้งแรงน้อย
7.เนื่องจากไม่มีอาการอยากรับประทานอาหารเพราะอยู่ในอาการเมายา หรือต้องการพยายามเก็บเงินไว้ เพื่อซื้อยาเสพติดในครั้งต่อไป
8.ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สกปรก
9.อารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตัวเอง

ในการตรวจสอบหัวข้อนี้ ผู้ปกครองจะต้องมีความหนักแน่น มีเหตุผล และตั้งอยู่บนพื้นฐานความรัก และความเข้าใจในครอบครัว
1.เก็บตัว ไม่สุงสิงกับคนอื่นไม่รับรู้ปัญหาภายในบ้าน และใช้ห้องน้ำนาน

2.ติดต่อกับคนแปลกหน้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกที่เสพยาเสพติดเหมือนกัน

เมทาโดน

เมทาโดน (อังกฤษ: Methadone) เป็นยาสังเคราะห์จำพวกโอปิออยด์ มีฤทธิ์เป็นยาบรรเทาปวด ถูกสังเคราะห์ขึ้นในปี ค.ศ. 1937 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ Max Bockmühlและ Gustav Ehrhartที่ IG Farben (Hoechst-Am-Main) ซึ่งกำลังวิจัยหายาบรรเทาปวดที่มีความเหมาะสมในระหว่างการผ่าตัดและมีผลข้างเคียงที่ทำให้ติดน้อย เมทาโดนจัดเป็นยาประเภท Schedule II ภายใต้ อนุสัญญาว่าด้วยยาเสพติด (Single Convention on Narcotic Drugs)



ยาไอซ์

 เป็นสารเสพติดในกลุ่มแอมเฟตามีน อนุพันธ์หนึ่งของยาบ้า จัดเป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภทที่ 1 ตามพ.ร.บ.ยาเสพติดปี 2522 ลักษณะของเม็ดยาเป็นผลึกคล้ายน้ำแข็งเป็นที่มาของชื่อยาไอซ์ ความ บริสุทธิ์ของยาค่อนข้างสูง ออกฤทธิ์แรงกว่ายาบ้ามากจึงมีคนเรียกว่าหัวยาบ้า การนำไปใช้ โดยการละลายน้ำแล้วฉีดเข้าเส้น บางคนนำไปเผาแล้วสูดดมควันเหมือนการเสพยาบ้า ยาตัวนี้ทำให้อารมณ์เคลิบเคลิ้มสนุกสนานสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ทำให้ติดได้ง่ายกว่า และมีอันตรายต่อร่างกาย อารมณ์และสังคมของผู้เสพมากกว่ายากลุ่ม amphetamines อื่นๆ ไม่ได้มีแพร่หลายกันทั่วไปเนื่องจากหายากและราคาค่อนข้างแพง มักจะใช้กันในสังคมไฮโซ นัน ท์ชัตสัณห์ กุพงศ์ นักจิตวิทยา ศูนย์บำบัดเชียงใหม่ ให้ข้อมูลว่า ยาไอซ์ใช้เหมือนกับยากลุ่ม methamphetamine อื่นๆ คือ สูดดม กลืนหรือสอดใส่ทวารหรืออาจใช้วิธีการสูบหรือฉีด ซึ่งผลจากยาจะรวดเร็วกว่า ผลกระทบของยาไอซ์จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกาย น้ำหนัก ปริมาณและวิธีการใช้ยาเสพติด


ยาเค

                ยาเค มาจากคำว่า เคตามีน (Ketamine) เคตาวา (Ketava) หรือ เคตารา (Ketara) หมายถึง ยาที่มีอันตรายที่แพทย์จะจ่ายให้กับผู้ป่วยเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ยาเคถูกสังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ โดยใช้เป็นยาสลบ มีชื่อเรียกในวงการแพทย์ว่า “KETAMINE HCL.” มีลักษณะเป็นผงสีขาว และน้ำบรรจุอยู่ในขวดสีชา การนำไปใช้นั้นปกติแพทย์จะฉีดเข้าเส้นเลือดในอัตรา 1-2 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยยาจะออกฤทธิ์ทำให้หมดสติภายในเวลา 1 นาที หรืออาจใช้วิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่วิธีนี้จะใช้ปริมาณยามากกว่าการฉีดเข้าเส้นเลือดประมาณ 3 เท่า อาการหมดสติจากการใช้ยาเคจะเป็นอยู่นานประมาณ 10-15 นาทีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ยาเคจึงถูกนำมาใช้ในกรณีของการผ่าตัดที่ใช้ระยะเวลาสั้นๆ หรือใช้ทำให้ผู้ป่วยสลบ ก่อนที่จะผ่านไปสู่ใช้ยาสลบชนิดอื่น สาเหตุที่ทำให้ยาเคกลายเป็นปัญหาเพราะวัยรุ่นบากลุ่มได้นำยาเคมาใช้เป็นสิ่งมึนเมา  
โดยนำมาทำให้เป็นผงด้วยกรรมวิธีผ่านความร้อนโดยอบให้แห้งเหลือแต่ตะกอนขาวของยา จากนั้นจึงนำมาสูดดมเพื่อให้เกิดอาการมึนเมา และมักพบว่า มีการนำยาเคใช้ร่วมกับยาเสพติดร้ายแรงชนิดอื่น เช่น ยาอี และโคเคน ยาเค

อาการของผู้เสพ                                    
          
               เมื่อเสพเข้าไปจะรู้สึกเคลิบเคลิ้ม รู้สึกตนเองมีอำนาจพิเศษ มีอาการสูญเสียกระบวนการทางความคิด ความคิดสับสน การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภาพ แสง สี เสียง จะเปลี่ยนแปลงไป ตาลาย ร่างกายเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน หากใช้มากจะหายใจติดขัด เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ผู้เสพเป็นโรคจิต และกลายเป็นคนวิกลจริตได้ฤทธิ์ในทางเสพติด ออกฤทธิ์หลอนประสาท ช่วงระยะเวลาการออกฤทธิ์นาน 18-24 ชั่วโมงโทษทางร่างกาย
การนำยาเคมาใช้ในทางที่ผิดย่อมเกิดอันตรายต่อตัวผู้ใช้ โดยทำให้เกิดผล ดังนี้
         1. ผลต่ออารมณ์ มีความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม มึนงง หรือที่เรียกว่าอาการ “Dissociaion”
         2. ผลต่อการรับรู้จะเปลี่ยนแปลงการรับรู้ทั้งหมดในขณะเสพไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภาพ แสง สี เสีย
         3. ผลต่อร่างกายและระบบประสาท เมื่อใช้ยาเคในปริมาณมากๆ ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดอาการติดขัดในการหายใจเท่านั้น ยังทำให้เกิดอาการทางจิต ประสาทหลอน หูแว่ว กลายเป็นคนวิกลจริตได้โทษตามกฎหมาย



กัญชา

กัญชาเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าขึ้นได้ง่ายในเขตร้อน ลำต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ลักษณะใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉก คล้ายใบมันสำปะหลังที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยักอยู่เป็นระยะๆ ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ตามง่ามของกิ่งและก้าน ส่วนที่คนนำมาเสพได้แก่ส่วนของกิ่ง ก้าน ใบ และยอดช่อดอกกัญชา โดยนำมาตากหรืออบแห้ง แล้วบดหรือหั่นให้เป็นผงหยาบๆ จากนั้นจึงนำมายัดไส้บุหรี่สูบ (แตกต่างจากบุหรี่ทั่วไปที่ไส้บุหรี่จะมีสีเขียว ต่างจากไส้ยาสูบที่มีสีน้ำตาล และขณะจุดสูบจะมีกลิ่นเหมือนหญ้าแห้งไหม้ไฟ) หรืออาจสูบด้วยกล้องหรือบ้องกัญชา บ้างก็ใช้เคี้ยวหรือผสมลงในอาหารรับประทาน ปัจจุบันรูปแบบของกัญชาที่พบ นอกจากจะพบในลักษณะของกัญชาสด กัญชาแห้งอัดเป็นแท่งเป็นก้อนแล้ว ยังอาจพบในรูปของ น้ำมันกัญชาอีกด้วย
              กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษ ที่ออกฤทธิ์หลายอย่างต่อระบบประสาทส่วนกลาง คือ ทั้งกระตุ้นประสาท กดและหลอนประสาท สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในกัญชามีหลายชนิด แต่สารที่สำคัญที่สุดที่มีฤทธิ์ต่อสมองและทำให้ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจเปลี่ยนแปลงไป คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol) หรือ THC ที่มีอยู่มากในส่วนของยอดช่อดอกกัญชา สาร THC นี้ในเบื้องต้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้เสพตื่นเต้น ช่างพูด และหัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะกดประสาท ทำให้ผู้เสพมี


กระท่อม

กระท่อมเป็นไม้ยืนต้น ที่จัดเป็น ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามความใน พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ยาเสพติดให้โทษ ซึ่งสิ่งเสพติดในประเภท 5 ได้แก่ กัญชา และพืชกระท่อม
สารสำคัญที่พบในใบกระท่อมคือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) เช่นเดียวกับยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน เช่น psilocybin LSD และ ยาบ้า ทำให้รู้สึกชา กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงานทำให้สามารถทำงานได้นานและทนมากขึ้น และทนต่อความร้อนมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้ผู้ที่ใช้ใบกระท่อม สามารถทำงานกลางแจ้ง ได้ทนนานขึ้น

กระท่อมออกฤทธิ์ประเภทกระตุ้นประสาท การเสพใบกระท่อมมาก ๆ หรือเป็นระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้ำและเข้มขึ้น และยังพบอีกว่าเสพกระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจากตัวใบก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า "ถุงท่อม" ในลำไส้ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืดขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุงขึ้นมาในลำไส้ บางรายจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง