อ๊อพตาลิดอน-พี


อ๊อพตาลิดอน-พี มีประโยชน์ต่อวงการแพทย์อย่างไร
อ๊อพตาลิดอน-พี หรืออ๊อพ หรือยาอ๊อพ เป็นชื่อทางการค้าของยาแก้ปวดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทยาควบคุมพิเศษ ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวและครั่นเนื้อครั่นตัว หรือความรู้สึกไม่สบายที่เกิดจากไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ ปวดฟัน ปวดประจำเดือน อาการปวดจากการผ่าตัดเล็ก ฯลฯ
อ๊อพตาลิดอน-พี มีผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
ส่วนประกอบของตัวยาสำคัญที่พบใน อ๊อพตาลิดอน-พี คือ โปรปิพี-นาโซน (ไอโซบิวทิลแอนลิวบาบิโตน และคาเฟอีน) มีคุณสมบัติที่ก่อให้เกิดการเสพติด ผู้ที่ใช้ยานี้บ่อยๆ หรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการเสพติดได้
ไอโซบิวทิลแอนลิวบาบิโตนและคาเฟอีนมีฤทธิ์ต่อร่างกายอย่างไร
ไอโซบิวทิลแอนลิวบาบิโตนอาจเรียกสั้นๆ ว่า บิวตาลปิตาล ยาชนิดนี้จัดเป็นยาในกลุ่มบาบิทูเรท ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี บิวตาลปิตาลมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ในขนาดน้อยใช้เพื่อระงับประสาทได้ แต่ในขนาดสูงสามารถใช้เป็นยานอนหลับ และการใช้ยาเกินขนาด (ส่วนใหญ่มากกว่า 10 เท่า ของขนาดที่ทำให้หลับ) ผู้ใช้อาจเสียชีวิตได้ นอกจากนี้การใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับยาหรือสารอื่นที่มีฤทธิ์กดประสาท เช่น ยานอนหลับ แอลกอฮอล์ ฯลฯ ก็อาจทำให้ผู้ใช้ถึงแก่ชีวิตได้ ผลจากการติดตัวยาชนิดนี้จะก่อให้เกิดโทษได้หลายอย่าง โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น มีอาการมึนงง ใจคอหงุดหงิด ความรู้สึกเลื่อนลอยหรือสับสน มีอาการทางจิตฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สำหรับผลต่อระบบส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โรคหรืออาการที่อาจพบได้ เช่น ความดันโลหิตต่ำ ท้องผูก ฯลฯ กรณีผู้ที่ติดยานี้ (รวมถึงผู้ที่ติดอ๊อพตาลิดอน-พี) หรือยาชนิดอื่นในกลุ่มบาบิทูเรท เมื่อต้องการเลิกไม่ควรเลิกทันที แต่ควรค่อยๆ ลดขนาดยาลงเพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดอาการชักที่จะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

สำหรับ คาเฟอีน ซึ่งเป็นอีกชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนผสมในอ๊อพตาลิดอน-พี นั้น เป็นสารธรรมชาติที่พบได้ในพืชหลายชนิด เช่น ต้นกาแฟ ชา โกโก้ ฯลฯ ยานี้จะไม่ใช้เดี่ยวๆ แต่มักผสมร่วมกับยาแก้ปวดบางชนิดที่มักผสมร่วมกับยาแก้ปวดบางชนิดที่มักพบว่านิยมผสมร่วมด้วย คือ แอสไพริน เพระเชื่อกันว่าคาเฟอีนช่วยเพิ่มการแสดงฤทธิ์ของยาแก้ปวดชนิดนี้ได้ คาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้ผู้ใช้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าไม่ง่วง ทั้งยังมีส่วนทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น ฯลฯ หากให้ยาเกินขนาดผู้ใช้จะเกิดอาการวิตกกังวล เครียดและใจสั่น เมื่อเทียบกับยากระตุ้นประสาทอื่นๆ การติดคาเฟอีนจะต้องใช้ขนาดสูงกว่าและช่วงระยะเวลานานกว่า รวมทั้งการติดมีความรุนแรงน้อยกว่า อย่างไรก็ดี การติดคาเฟอีนก่อให้เกิดผลเสียหลายอย่างเช่นกัน โดยเฉพาะผู้ติดที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นจะคล้ายคลึงกับอาการที่พบในผู้ที่ใช้คาเฟอีนเกินขนาดดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งผู้ใช้จะมีอาการนอนไม่หลับ ความคิดสับสนปวดหัวบ่อยๆ หัวใจเต้นแรงและอาจพบเป็นโรคอุจจาระร่วงประจำ


ยาบ้า

                 เป็นยาเสพติด สารสังเคราะห์มีแอมเฟตามีนเป็นส่วนประกอบ มีชื่อเรียก เช่น ยาขยัน ยาแก้ง่วง ยาโด๊ป ยาตื่นตัว ยาเพิ่มพลัง นิยมเสพโดยรับประทานโดยตรงหรือผสมในอาหาร หรือเครื่องดื่ม หรือเสพโดยนำยาบ้ามาบดแล้วนำไปลนไฟแล้วสูดดมเป็นไอระเหยเข้าสู่ร่างกาย จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2441
         ยาบ้า มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร น้ำหนักเม็ดยาประมาณ 80-100 มิลลิกรัม มีสีต่างๆ กัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล สีม่วง สีชมพู สีเทา สีเหลือง และสีเขียว เป็นต้น มีเครื่องหมายการค้า เป็นสัญลักษณ์หลายแบบ เช่น รูปหัวม้าและอักษร LONDON มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ , 99 , M , PG ,WY สัญลักษณ์รูปดาว , รูปพระจันทร์เสี้ยว ,99 หรืออาจเป็นลักษณะของเส้นแบ่งครึ่งเม็ด ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้อาจปรากฏบนเม็ดยาด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน หรืออาจเป็นเม็ดเรียบทั้งสองด้าน รูปร่างของยาบ้าอาจพบในลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ กลมแบน รูปเหลี่ยมรูปหัวใจ หรือแคปซูล
             ยาบ้า เป็นยากลุ่มแอมเฟทตามีน(Amphetamines) ซึ่งมีหลายตัว เช่น Dextroamphetamine, Methamphetamine เรียกกันแต่เดิมว่า ยาม้ายานี้เคยใช้เป็นยารักษาโรคอยู่บ้างในอดีต สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคผลอยหลับโดยไม่รู้ตัว (Narcolepsy) เด็กที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง ขาดความตั้งใจและสมาธิในการเรียน (Attention Deficit Disorder) และผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ปัจจุบันนิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย








มอร์ฟีน

มอร์ฟีน (อังกฤษ: Morphine จากภาษากรีก Morpheus หมายถึงเทพเจ้าแห่งการนอนหลับ) เป็นตัวยาสำคัญในฝิ่น เป็นยาบรรเทาในกลุ่ม โอปิออยด์ ที่ทรงพลังมาก เหมือนกับโอปิแอตตัวอื่น ๆ มอร์ฟีนจะออกฤทธ์ตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system-CNS) และมีผลที่ซินแนพซ์ (synapse) ใน อาร์คูเอต นิวเคลียส (arcuate nucleus) เป็นผลให้บรรเทาความเจ็บปวดได้เป็นอย่างดี



ฝิ่น

เป็นยางแห้งที่ได้จากการกรีดผลของต้นฝิ่นฝิ่นมีองค์ประกอบทางเคมีเป็นอัลคาลอยด์มากกว่า 30 ชนิด ที่สำคัญและในปัจจุบันยังใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ ได้แก่มอร์ฟีน พบในฝิ่นราวร้อยละ 4-21 ใช้เป็นยาแก้ปวดที่อาจทำให้เสพติด เป็นยานอนหลับและทำให้เสพติดอย่างแรง ใช้ในรูปยาฉีดเท่านั้น เมื่อเอามอร์ฟีนไปทำปฏิกิริยาทางเคมีกับอะเซติกแอนไฮดรายด์ จะได้สารกึ่งธรรมชาติเรียก เฮโรอีน มีฤทธิ์เหมือนกับมอร์ฟีน แต่แรงกว่าและติดได้ง่ายกว่ามากโคดีอีน พบในฝิ่นร้อยละ 0.8-2.5 ใช้เป็นยาแก้ปวดที่อาจทำให้เสพติดเป็นยาระงับอาการไอ ใช้เป็นยานอนหลับให้ผู้ป่วยที่นอนไม่หลับเนื่องจากอาการไอ มีฤทธิ์เหมือนมอร์ฟีน แต่อ่อนกว่า และผู้ใช้ติดยาได้น้อยกว่ามาก ใช้ได้ทั้งในรูปกินและฉีดนอสคาพีน หรือ นาร์โคทีน พบในฝิ่นร้อยละ 4-8 ใช้เป็นยาระงับอาการไอไม่ทำให้เสพติดรุนแรงพาพาเวอรีน พบในฝิ่นราวร้อยละ 0.5-2.5 ใช้เป็นยาคลายกล้ามเนื้อเรียบใช้ได้ทั้งรูปยากินและยาฉีด



บุหรี่


บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร) มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพรอื่น ๆ เช่น กัญชา

บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ (en:cigar) ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล (en:cigarillo) บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน



โคเคน



           โคเคน (อังกฤษ: cocaine) คือ crystalline tropane alkaloid ซึ่งสกัดมาจากใบของต้นโคคา (Coca) ซึ่งออกฤทธิ์เป็นสารกระตุ้นมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางและเป็นสารที่ระงับความต้องการของร่างกาย (Appetite Suppressant) อีกนัยหนึ่งโคเคนอีน เป็นสาร Dopamine reuptake inhibitor ซึ่งผู้ได้รับสารนี้จะรู้สึกมีความสุข และมีพลังงานเพิ่มอย่างสูงในระยะเวลาสั้นๆ ผู้ที่ใช้สารเสพติดนี้ส่วนใหญ่มีอาการเครียด หรือวิตกกังวลอย่างรุนแรง พักผ่อนไม่เพียงพอ และต้องการผ่อนคลายความตึงเครียดลง ถึงแม้ว่าโคเคนจะเป็นสารเสพติด แต่ก็ได้มีการใช้ในวงการแพทย์โดยใช้เป็นสาร Topical Anesthesia มีการใช้ร่วมในเด็ก โดยเฉพาะการศัลยกรรม ตา จมูก และคอ ถ้าใครเสพสารนี้ไปแล้วจะต้องการสารโคเคนตลอดจนตาย

 ข้อเสียของการใช้สารโคเคน  คือ มีผลให้ระบบการหายใจล้มเหลว มีโอกาสเป็น โรคหัวใจ และอัมพาตในผู้ใช้สารโคเคนเป็นระยะเวลานาน หลังจากโคเคนหมดฤทธิ์แล้วอาจจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้าเนื่องจากภาวะการลดระดับของสารโดปามีนในสมองอย่างฉับพลัน หลังจากการกระตุ้นของสารเสพติด










สาเหตุของการติดสารเสพติด



สาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติดมีอยู่มากมายหลายสาเหตุ โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ครอบครัวหรือผู้ปกครอง โรงเรียน หรือสถานศึกษา สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และสังคม ปัญหาจากทางร่างกายและจิตใจของคนผู้นั้น ปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งเราพอสรุปสาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติดเป็นข้อๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
1.1 อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้ จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็อาจประมาทไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นอีก จนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น หรือถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน แม้จะเสพเพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้ติดได้
1.2 ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว    คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตนในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ติดชนิดต่างๆ เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหายหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพย์ติดนั้น
1.3 การชักชวนของคนอื่น อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณาของผู้ขายสินค้าที่เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา ทำให้มีจิตใจแจ่มใส ทำให้มีสุขภาพดี ทำให้มีสติปัญญาดี สามารถรักษาโรคได้บางชนิด เป็นต้น
2. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง

ปัจจุบันนี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนมหรือเครื่องดื่มบางรายใช้สิ่งเสพย์ติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีก ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้ออาหารนั้นมารับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติดสิ่งเสพย์ติดขึ้นแล้ว รู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้นๆ กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อตนเองรู้สึกผิดสังเกตต่อความต้องการ จะซื้ออาหารจากร้านนั้นมารับประทาน หรือต่อเมื่อ มีอาการเสพย์ติดรุนแรง และมีสุขภาพเสื่อมลง

ลักษณะของผู้เสพสารเสพติด


  1.  การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
  2. สุขภาพ ทรุดโทรมผอมซูบซีด
  3.   ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้งแตก
  4.   ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง
  5.  น้ำมูกน้ำตาไหล เหงื่อออกมาก
  6.  มักใส่แว่นกรองแสงสีเข้ม เพื่อต่อสู้กับแสงสว่างเพราะม่านตาขยาย
  7.  มีร่องรอยการเสพยาโดยการฉีด นิ้วมือมีรอยคราบเหลืองสกปรก
  8.  มีรอยแผลเป็นที่ท้องแขนเป็นรอยกรีด ด้วยของมีคม (ทำร้ายตนเอง)
  9.  การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติ และบุคลิกภาพ
  10. ขาดการเรียน หนีโรงเรียน การเรียนด้อยลงสติปัญญาเสื่อม การงานบกพร่อง
  11. ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ชอบแยกตัวเอง หลบซ่อนตัว ทำตัวลึกลับ
  12. เป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิด เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล พูดจาก้าวร้าว ดื้อรั้นไม่เชื่อฟัง สามารถทำร้ายบิดามารดาได้
  13. ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อย สกปรก
  14. สีหน้าแสดงความผิดหวังกังวล ซึมเศร้า
  15. พกอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว ไม้ขีดไฟ
  16. เมื่อขาดยาเสพติดจะมีอาการอยากยาเสพติดเกิดขึ้นเช่น
  17.  มีอาการน้ำมูก น้ำตาไหล หาวนอน จามคล้ายเป็นหวัด
  18. กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ลึก จ้องหาแต่ยาเสพติด จะขวนขวายหามาเสพไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ
  19. คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน อาจมีเลือดปนออกมาด้วย เรียกว่า ลงแดง
  20. ขนลุก เหงื่อออก เป็นตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก ขบฟัน ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูกดิ้นทุรนทุราย

ยาเสพติดที่ร้ายแรงที่สุดในโลก


           ยาเสพติดน้องใหม่ที่ร้ายแรงที่สุดในโลก ""Krokodil""[ครอค-โค-ดิล]มาจากคำว่า Crocodile ในภาษารัสเซีย ผลที่ผู้เสพจะได้รับคือ เหมือนถูกจรเข้กัดกินจากข้างใน ผิวหนังและเส้นผมจะหลุดร่วง มีสะเก็ดลอก มีลักษณะคล้ายจรเข้ ส่วนใหญ่เสพแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 2 ปี ทำไมถึงฮิตและดังเพราะถูกกว่า Heroin ถึง 20% ส่วนผสมคร่าวๆ มีน้ำมันรถ ไอโอดีน เกลือ กรดต่างๆ และ Codeine ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในHeroin(Codeineมีในยาพาราฯบางยี่ห้อที่มีข่าวจับเพราะแอบนำไปซื้อขายกันไง)วิธีเสพเหมือนHeroin ผลต่อร่างกายจะเกิดที่ขาก่อนโดยการติดเชื้อในกระแสเลือดในช่วงที่ฉีดเข้าไปจะมีสีฟ้ารอบบาดแผลและจะทำให้ผิวหนังเนื้อเยื่อช่วงนั้นตายทำให้แขนขาเน่าเปื่อยจากนั้นหลอดเลือดคอและเนื้อเยื่อกระดูกจะมีรูพรุนอย่างรุนแรง ขากรรไกรล่างจะถูกทำลายก่อน จากส่วนผสมของกรด โดยเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อจากข้างในก่อน Krokodil กำลังระบาดไปทั่วโลก ตอนนี้ระบาดไปอเมริกาแล้ว ไม่นานคงถึงบ้านเรา ดังนั้น!!ควรดูแลคนที่คุณรักให้ห่างไกลยาเสพติดก่อนสายเกินไป


                                             



พิษของสารเสพติด


          เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมาก



โทษทางร่างกาย และจิตใจ
1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย
2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม
            3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ
4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
 6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง
ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม

โทษพิษภัยต่อครอบครัว
                1. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว
            2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง
                3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ
   4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง

ประเภทของยาเสพติด

สำนักงาน ป.ป.ส. ยาเสพติดให้โทษ แบ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน อาซีทอร์ฟีน อีทอร์ฟีน แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน ฯลฯ
ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคอีน (โคเคน) โคเดอีน ฯลฯ
ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษชนิดเป็นตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ปรุงผสมอยู่ เช่น ยาแก้ไอที่มีฝิ่นหรือโคเดอีน เป็นส่วนผสมยาแก้ท้องเสียที่มีไดฟีน็อคซิเลท เป็นส่วนผสม ฯลฯ
ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ ประเภท 2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ อาเซติลคลอไรด์
ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม

ยาเสพติดแบ่งตามฤทธิ์ของยาที่มีผลต่อร่างกาย แบ่งเป็น 4 ประเภท
1. ยาเสพติดประเภทกดประสาท เช่น กลุ่มฝิ่น (ฝิ่นยา มอร์ฟีน โคเดอีน เฮโรอีน ฯลฯ) ยาระงับประสาท และยานอนหลับ (เซโคบาร์บิตาล อะโมบาร์บิตาล ฯลฯ) ยากล่อมประสาท (เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม คลอไดอาซีพอกไซด์ ฯลฯ) สารระเหย (ทินเนอร์น้ำมันเบนซิน ฯลฯ) เครื่องดื่ม มึนเมา (เหล้า เบียร์ วิสกี้ ฯลฯ)
               2. ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน (โคเคน) บุหรี่ กาแฟ
               3. ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย

               4. ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้นหรือหลอนประสาทผสมร่วมกัน เช่น กัญชา

ยาเสพติด หมายถึง


สารเสพติด หรือ ยาเสพติด ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก หมายถึงสารที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดจะทำให้เกิดโรคภัยต่อร่างกายและจิตใจขึ้น

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้นิยามสารเสพติดให้โทษดังนี้ สารเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"
ความหมายโดยทั่วไป
ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้รับเข้าไปในร่างกายซ้ำๆ กันแล้วไม่ว่า ด้วยวิธีใดๆ เป็นช่วงระยะๆ หรือนานติดต่อกันก็ตาม